เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงประเภทแห่งอาบัติ ด้วยอำนาจความ
พิสดารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จะทรงแสดงอนาบัติ จึงตรัสคำว่า อนาปตฺติ
อธิมาเนน เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิมาเนน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้อวด ด้วยสำคัญว่าตนได้บรรลุ.
บทว่า อนุลฺลปนาธิปฺปายสฺส มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้
มิได้ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร ด้วยความเป็นผู้หลอกลวง ไม่ประสงค์จะอวด พยากรณ์
พระอรหัตผล ในสำนักของเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย. ภิกษุบ้าเป็นต้น มีนัย
ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั้นนั่นแล. อนึ่ง พวกภิกษุผู้จำพรรษาใกล้ฝั่งแม่น้ำ
วัคคุมุทา ผู้เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้, ไม่เป็นอาบัติแก่เธอเหล่านั้น ฉะนี้
แล.
ปทภาชนียวรรณนา จบ

(จตุตถปาราชิกสิกขาบท มีสมุฏฐาน 3)


ในสมุฏฐานเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน 3 คือ
เกิดแต่กายกับจิตของภิกษุผู้อวดอยู่ ด้วยหัวแม่มือ 1 เกิดแต่วาจากับจิตของ
ภิกษุผู้อวดด้วยการเปล่งวาจา 1 เกิดแต่กายวาจากับจิต ของภิกษุผู้ทำอยู่ทั้ง 2
อย่าง 1 เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะเป็นโลกวัชชะ เป็นกายกรรม
วจีกรรม เป็นอกุศลจิต มีเวทนา 3. จริงอยู่ ภิกษุย่อมกล่าวอวดทั้งที่มีโสมนัส
รื่นเริงใจก็มี กลัวอวดก็มี มีตนเป็นกลางอวดก็มี.